การศึกษา ของ พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ)

  • พศ.2463 จำพรรษาที่วัดหัวเขา ศึกษาสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พุทธาคม จากหลวงพ่ออิ่ม (เจ้าอาวาส) ผู้ได้รับตำราถ่ายทอดมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช[4] ถ่ายทอดมาเป็นลำดับกระทั่งถึงหลวงพ่อปุย โดยได้รับคำยกย่องจากหลวงพ่ออิ่มว่า เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว ทั้งยังเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไช ต่อมาจึงกราบลาหลวงพ่ออิ่มเพื่อกลับไปช่วยจัดงานฌาปนกิจศพพระใบฎีกาอินทร์ในปี พ.ศ.2464 แต่ยังคงไปมาหาสู่ตลอดระยะเวลาหลายปี กระทั่งหลวงพ่ออิ่มมรณภาพ[2] พ.ศ.2480
  • พ.ศ.2464 - 2465 หลังเสร็จงานฌาปนกิจศพพระใบฎีกาอินทร์ ร่วมกับคณะศิษย์พระครูปลื้ม (พระอุปัชฌาย์) นำโดยพระอาจารย์เซ้ง จัดงานทำบุญอายุและหล่อรูปเหมือนพระครูปลื้ม แล้วจำพรรษาที่วัดพร้าว ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน พุทธาคม จากพระครูปลื้ม

ครูบาอาจารย์

พบบันทึกรายนามครูบาอาจารย์ทั้งพระภิกษุและฆราวาสที่หลวงพ่อปุยเคยศึกษา ปรากฏชื่อในสมุดไทย (สมุดข่อย) สมุดฝรั่ง และเท่าที่ลูกศิษย์ทราบ ดังนี้[7]

  • 1.พระครูปลื้ม วัดพร้าว (พระอุปัชฌาย์ , ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม)
  • 2.พระครูธรรมสารรักษา (หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจันทร์ , พระกรรมวาจาจารย์ , ศึกษาแพทย์แผนโบราณ และพุทธาคม)
  • 3.พระใบฏีกาอินทร์ (หลวงพ่ออินทร์ วัดราษฎรบำรุง , พระอนุสาวนาจารย์ , ศึกษาหนังสือไทย และพระธรรมวินัย)
  • 4.พระมหาสุนทร ศรีโสภาค วัดราษฎรบำรุง , วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ศึกษาพระปริยัติธรรม)
  • 5.หลวงพ่ออ่วม วัดเกาะ (ศึกษาการแสดงพระธรรมเทศนาแบบโบราณ)
  • 6.หลวงพ่อน้อย (เป็นพระภิกษุแถบเหนือจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นไป ยังไม่ทราบวัด , ศึกษาแพทย์แผนโบราณ)
  • 7.หลวงพ่อฉาย (ยังไม่ทราบวัด , ศึกษาแพทย์แผนโบราณ)
  • 8.ครูพาย (หลวงปู่เฒ่าพลาย วัดเกาะ , ศึกษาหนังสือขอม แพทย์แผนโบราณ วิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม)
  • 9.ครูอิ่ม (หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา , ศึกษาสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม)
  • 10.ครูสุฃ (สันนิษฐานว่าคือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นผู้พาไปสมัยยังจำพรรษาอยู่ที่นั่น (?) นอกจากนี้ยังพบหลักฐานหนังสือที่ระลึกร่วมงานฌาปนกิจศพหลวงพ่อเคลือบ วัดบ่อแร่ พระฐานานุกรมและศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ศุข ตกทอดอยู่ที่วัดเกาะ บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ในอดีต)
  • 11.ครูชิต (ศึกษาแพทย์แผนโบราณ)
  • 12.ครูทอง (ศึกษาแพทย์แผนโบราณ)
  • 13.ครูดี
  • 14.ครูวัย
  • 15.ครูต่วน
  • 16.ครูแจ่ม
  • 17.ครูผัน
  • 18.ครูแพ่ง
  • 19.ครูอ่อง จันทรคราส (ศึกษาวิชาอาคม)
  • 20.หมอคำ (ศึกษาแพทย์แผนโบราณ และวิชาอาคม)
  • 21.ก๋งบัว (ศึกษาวิชาอาคม)
  • 22.สมีฃำ (ศึกษาจากตำราสมีฃำ)
  • 23.พระอาจารย์ในจังหวัดนนทบุรี เมื่อครั้งไปจำพรรษาที่จังหวัดนนทบุรี (ยังไม่ทราบนามชัดเจน)
หลวงพ่อปุย ถ่ายที่หน้าหอสวดมนต์ (หลังเก่า)